วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การพัฒนาตนเอง

   สังคมไทยทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอันมาก จะเห็นได้ว่าสังคมไทยรับเอาวัฒนธรรมตะวันมาใช้มากมายหลายอย่าง ทั้งในด้สนที่ดีและด้านไม่ดีไม่ว่าจะเป็นแนวคิด วิถีชิวิต( Lifestyle ) การทำงานตลอดจนการให้ความสำคัญแก่วัตถุนิยม ฯลฯ ทำให้สังคมไทยปัจจุบันค่อยข้างจะสับสนและมีความขัดแย้งระหว่างบุคคลต่างๆ ที่อยู่ในสังคมค่อยข้างมาก จนน่าจะมีการทบทวนดูว่าเราควรจะพัฒนาตนเองไปทางทิศทางใดจึงจะถูกต้องและเหมาะสม
   ตามหลักการ การพัฒนาตนเองนั้นควรคำนึงถึงความพัฒนาตนเองให้เป็นคนมีคุณค่า จะได้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และสังคมรอบข้าง เพื่อให้เป็นความสำเร็จที่เกิดขึ้นในชีวิตของมนุษย์อย่างแท้จริง มนุษย์ไม่ควรทำงานเพื่อเงินเพียงอย่างเดียว  แม้ว่าเงินจะมีส่วนสำคัญในการดรงชีวิตแต่เราก็ไม่ควรให้ความสำคัญแก่เงินมากเกินไปจนยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องชอบธรรมใดๆ ความสำเร็จที่ได้มาจากการคดโกงเอาเปรียบคนอื่น ไม่เหมือนความสำเร็จที่ได้จากการใช้ความรู้ความสามารถ ความพยายามบากบั่นอดทนด้วยความเพียรของตนเอง เพราะการหาเงินทางที่ไม่ชอบทั้งหลายนี้ รังแต่จะทำให้ชีวิตเป็นทุกข์ ต้องเดิอดร้อนื้งกายและใจอย่างไท่รู้จบ นับเป็นการดิ้นรนเพื่อความว่างเปล่าโดยแท้ เนื่องด้วยความเป็นจริงของชีวิต ไม่ว่าเราจะมีเงินมากมายมหาศาลเพียงใด สุดท้ายของชีวิตทุกคนที่เหมือนกัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็คือการจากไปโดยไม่สามารถเอาทรัพย์สมบัติใดๆ ติดตัวไปได้แม้แต่ชิ้นเดียว ฉะนั้นเหตุใดเราจึงไม่เร่งพัฒนาตนเองเพื่อความพ้นทุกข์ ทำจิตให้ว่าง มองทุกอย่างตามที่เป็นจริงด้วยจิตที่สงบ โดยการเดินทางสาบกลางหรือมีชฌิมาปฏิปทา ไม่โลภมากไม่โกรธมากมีสติกำกับ ไม่ปรุงแต่งจนเป็นเหตุให้เกิดทุกข์จิตที่สงบจะเป็นจิตที่เหมาะแก่การทำงาน เพราะเป็นจิตที่เป็นประโยชน์ ดังเช่นพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยจิต '' ซึ่งหลวงวิจิตวาทการก็ได้ให้ความเห็นว่าจิตเป็นโครตของพลัง ดังนั้นถ้าเราใช้สติปัญญา และมีธรรมะ เป็นเครื่องกำกับจิต เราจะพบกับความสุข ตามที่พระพุทธองค์สอนไว้ว่า '' สุขอื่นใดยิ่งกว่าความสงบเป็นไม่มี ''
    ด้วยเหตุนี้ หากเราใช้แนวทางการพัฒนาตนเองเชิงพุทธจะเป็นการบริหารจิตที่ดีเพราะมุ้งเน้นไปที่การพัฒนาพฤติกรรม โดยใช้ศีลกำกับให้เป็นผู้มีระเบียบวินัยรู้สิทธิ์หน้าที่ของตน ไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น โดยการใช้สมาธิปลดเปลื้องความกังวล ใช้สมาธิปลดเปลื้องความเครียด ความกังวลใจ ขะได้ใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข และจิตที่สงบที่จะไปสู่การพัฒนา ความรู้และทรรศนะที่ถูกต้องด้วยความหมายแห่งคำว่ารัก ปัญญา ซึ่งได้แก่การหยั่งรู้สภาพความเป็นจริงของโลก และชีวิตที่สับสนด้วยลาภ ยศ สรรเสร้ญ สุข จะได้ไม่ยึดมั้นไม่หวังผลตอบแทน ปฏิบัติหน้าที่เพื่อนหน้าที่ การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีควรจึงเน้นที่การพัฒนาจิตใจตนเองเป็นอับดับแรก เพื่อนให้บุคคลนั้นสามารถจัดการชีวิตได้ดี เนื่องจาดจิตใจที่ขาดความเข้มแข็ง ขาดพลังความมุ่งมั้น ขาดกำลังใจจะไม่สามารถนำพาชีวิตไปให้ไกลได้ และมีผู้เสนอความคิดเห็นว่า '' ในปัจจุบันคนเราได้รับการศึกษาดีทำให้เกิดความคิดหลากหลายเป็นประโยชน์แก่ชีวิตตน แต่ความคิดที่ดีเหล่านั้นขาดพลังผลักดัน ขาดกำลังหนุนส่ง จึงเป็นความคิดที่เกิดขึ้นแล้วหายไป ทำให้พลาดโอกาศอย่างหน้าเสียดาย '' ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดในการสร้างพลังงานให้เกิดแก่จิตใจ ก็คือ '' การฝึกสมาธิ '' โดยการบริหารจิตให้เกิดความสงบในขณะที่ร่างกายยังคงเคลื่อนไหวทำงานอยู่ และเมื่อเราสามารถฝึกจิตใจให้นิ่งสงบและปล่อยว่างได้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางจิต ทำให้เราสามารถจัดระบบความคิดใหม่สร้างนิสัยให้มีความเข้มแข็ง หนักแน่น มั่งคง มีเมฆตา กล้าหาญ อ่อนโยน ฯลฯ เป็นการพัฒนาไปสู้จิตที่ดี มีอานุภาพขจัดความเครียด และโรคภัยไข้เจ็บได้
    ดังนั้น การพัฒนาจิตโดยการทำสมาธิจะช่วยให้จิตมีความสงบมั่งคงซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองเป็นอย่างมาก เพราะถ้าเราอยู่ในสถานการณ์กดดัน อาทิเช่น ถูกติเตียน ดูถูก นินทา สบประมาท ฯลฯ และเราแก้ไขปัญหาด้วยการแสดงความน้อยใจ ผิดหวัง โกรธ เกลียด หรือตอบโต้ด้วยการประชดชีวิต จะทำให้เราดำเนินชีวิตผิดพลาดจนได้รับเครีห์กรรมได้ แต่ถ้าเราใช้วิธีแก้ปัญหาโดยเอาคำพูดเหล่านั้นมาเป็นพลังผลักดันให้เกิดการกระทำที่ถูกต้อง จะนำชีวิตไปสู้ความสำเร็จได้
    ฉะนั้น ในการพัฒนาตนเอง เราควรคำนึงถึงคุณสมบัติพื้นฐาน 7 ประการ ดังแนวคิดของสุภาเครือเนตร ดังนี้
1. สร้างจิตใจให้หนักแน่นมั่งคงด้วยการฝึกสมาธิ
2. สร้างนิสัยขยันหมั่นเพียรด้วยการระลึกและฝึกปฏิบัติบ่อยๆ
3. สร้างนิสัยรับผิดชอบด้วยการระลึกและฝึกปฏิบัติบ่อยๆ
4. สร้างนิสัยกตัญญู อ่อนน้อมถ่อมตนด้วยการระลึกและฝึกปฏิบัติบ่อยๆ
5. สร้างนิสัยรู้จักประมาณตนเองด้วยระลึกและฝึกปฏิบัติบ่อยๆ
6. สร้างคุณธรรมให้แก่ตนเองด้วยการระลึกและฝึกปฏิบัติบ่อยๆ
7. สร้างคุณธรรมให้แก่ตนเองด้วยการระลึกและฝึกพิจารณาเหตุผลบ่อยๆ
    นอกจากนั้น ในการปฏิบัติตนเพื่อให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นสุข ทยาลุ ชีวิตงาม ได้ให้ข้อคิดเพื่อการพัฒนาตนเองดังนี้
1. อย่างจงใจทำให้ตนเองหรือให้ผู้อื่นเดือดร้อน
2. ชีวิตดำเนินไปนั้น ให้มุ่งมั้นต่อการเอื้อเฟื้อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
3. อย่งจ้องจับผิดหรือเห็นแต่ความบกพร่อง ผิดพลาดของผู้อื่น ให้พยายามมองคนแต่ในแง่ดี จงพยายามเข้าใจ และให้อภัยผู้อื่น
4. ไม่มีใครอยากชั่ว ไม่มีใครอยากผิดแต่ชีวิตอาจพลั้งพลาดได้ การเห็นอกเห็นใจกันจึงเป็นความประเสริฐในชีวิตมนุษย์
5. สิ่งที่เป็นสังขารทั้งหลาย ย่อมหมุนเวียนเปลี่ยนแปรไปตามเหตุปัจจัย ดังนั้น ชีวิตที่ผิดพลาดไป ให้ถือเป็นบทเรียน
6.ความดีที่เคยสั่งสม และสรรค์สร้างจะถูกลบล้างเมือ่เป็นคนเนรคุณ
7. เป็นความโชคดีที่เกิดมาได้พบหน้าเพื่อนมนุษย์ ดังนั้นความหยิบยื่นความยินดี และส่งรอยยิ้ม
8. อย่ากระทบกระทั่งใครๆ เพราะเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่งที่เราจะแสดงความหยาบคายต่อเพื่อนร่วมทุกข์ของเรา
9. เมื่อตกลงว่าจะคบกับใคร ให้จริงใจต่อเรา
10. หยอดน้ำตาที่บริสุทธิ์ใส จงอย่าให้ไหลออก เพราะบีบคั้นของความแค้น หากน้ำตาจะไหล ก็จะให้มันไหลเพราะความห่วงใยเพื่อมนุษย์
     ประเด็นสำคัญของการพัฒนาตนเองก็คือ การดำรงชีวิตโดยรู้จักดำรงชีวิตโดยประมาณตนไม่ประมาท มีความสำนึกที่จะเป็นคนดี
      คนดี ปฏิบัติดี มุ่งมั้นทำในสิ่งที่ดี ถูกต้อง ไม่หลงตัว ไม่ฟุ้มเฟ้อ ไม่หลงระเริงจนเกิดทุกข์
      เราจะสุข หรือทุกข์ เพราะเราสร้างกรรมต่างๆให้ผลตามสนอง เราทำดี มีสุข สมใจปอง
      ทำชั่ว ต้องทุกข์ อย่างแน่นอน
      ฉะนั้น ในการประกอบสัมมาชีพ เพื่อใช้การพัฒนาตนเองของเราไปในทางสร้างสรรค์ เราควรสร้างความก้าวหน้าด้วย ความสมารถ ซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ เห็นประโยชน์ของผู้อื่นก่อนประโยชน์ส่วนตัว เมื่อเป็นผู้บังคับบัญชา ต้องมีศีลธรรมในการปกครอง ไม่ทำตัวเป็นนายที่กดขี่ข่มเหงลูกน้อง ต้องมีความยุติธรรมในการดูแลผู้อยู่ใต้บังคับชัญชา และควรถือเป็นหน้าที่สำคัญที่จะสนับสุนให้ผู้ใช้บังคับบัญชาได้ก้าวหน้าดีกว่าตน ซึ่งถ้าเราทำได้ดังที่กล่าวมาแล้ว เราจะเป็นคนที่มีคุณค่า ทั้งต่อตนเองและต่อส่วนรวม
                                            เอาความดี          เป็นแกนกลาง            ทางชีวิต
                                            เอาความคิด       เป็รเครื่องช่วย            อำนวยผล
                                            เอาแรงงาน         เป็นกลไก                   ภายในตน
                                            นี่คือคน               มีคุณค่า                     ราคางาม
                                                                                                                   ( พุทธทาสภิกขุ )

ที่มา จริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์
ผู้แต่ง  ทรงศักดิ์ แก้วอ่อน กศ.บ.( ธุรกิจศึกษา ) , ค.บ. ( คอมพิวเตอร์ศึกษา ) ค.อ.ม. ( บริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น