วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บุคลิกภาพและการพัฒนาบุคลิกภาพในการทำงาน

บทนำ
    ในการทำงานของทุกหน่วยงานย่อมจะต้องการบุคลากรที่มีบุคลิกภาพดีมีความพร้อมในหลายๆ ด้านเข้ามาทำงาน เพื่อนเป้นที่ประทับใจแก่ผู้เข้ามาติดต่องานในหน่วงานนั้น สร้างความพึงพอใจแก่ผู้มาใช้บริการ เมื่อรู้อย่างนี้แล้วทุกคนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาตนเองทั้งบุคลิกภาพภายนอกที้เป็นร่างกายของเรา ให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมตามเกณฑ์มาตราของคนไทย เพื่อให้เป็นที่ต้องการของหน่วยงานต่างๆ ส่วนด้านจิตใจเป็นบุคลิกภาพในก็สามารถพัมนาได้เช่นเดียวกัน เพราะสิ่งสำคัญที่ทุกหน่วยงานมีความปรารถนาเหมือนกันหมดก็คือต้องการที่จะรับพนักงานในการเข้าทำงานจากบุคคลที่มีความรู้ มีความเพียบพร้อมทั้งรูปร่าง หน้าตา และจิตใจที่ดีงามเข้าทำงาน

ที่มา จริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์
ผู้แต่ง  ทรงศักดิ์ แก้วอ่อน กศ.บ.( ธุรกิจศึกษา ) , ค.บ. ( คอมพิวเตอร์ศึกษา ) ค.อ.ม. ( บริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา )

   

บุคลิกภาพและการพัฒนาบุคลิกภาพในการทำงาน

      ในการเรียนวิชาจริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์ ซึ่งในเนื้อหาวิชา ผู้เรียนจะได้เรียนเกี่ยวกับวิธีปฏิติบัตัวในการทำงานทางด้านวิชาชีพคอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาใช้กับงานสำนักงาน ในหน่วยงานต่างๆ แล้ว ผู้เรียนยังจะได้เรียนเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพด้วย เพราะบุคลิกภาพก้อมีส่วนช่วยส่งเสริมการทำงานในสำนักงานด้วย เพราะสถานประกอบการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีความต้องการที่จะปฏิบัติงานทางด้านคอมพิวเตอร์ในสำนักงานได้แล้ว ยังต้องการพนักงานที่บุคลิกภาพที่ดีสำหรับงานทำงานในสำนักงานด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมการปฏิบัติงาน และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ และสร้างการบริการแก่ผู้มาติดต่องาน

ที่มา จริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์
ผู้แต่ง  ทรงศักดิ์ แก้วอ่อน กศ.บ.( ธุรกิจศึกษา ) , ค.บ. ( คอมพิวเตอร์ศึกษา ) ค.อ.ม. ( บริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา )

 

ความหมายของบุคลิกภาพ

    บุคลิกภาพ ( Personality )  หมายถึง  บุคลิกลักษณะเฉพาะขอแงต่ล่ะบุคคล ซ่งจะประกอบไปด้วยรูปร่างหน้าตา ลักษณะนิสัย อารมณ์ ความสนใจ ความสามารถ ตลอดจนความมีมนุษย์สัมพันธ์กับบุคลรอบข้าง
    บุคลิกภาพจะประกอบไปด้วยลักษณะภายนอกและภายในของแต่ละบุคคล ทำให้บุคลแต่ละคนนั้นมีสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจแตกต่างกันออกไป
    - ลักษณะภายนอก ถือเป็นรูปธรรม หมายถึง รูปร่างหน้าตาของแต่ละบุคคลที่เป็นมาแต่กำเนิด เช่น มีรูปร่างหน้าตา รูปหล่อ หน้าตาสวยงาม บางคนเกิดมาหน้าตาหน้ากลัว ขี้ริ้วขี้เหร่ บางคนไม่สมประกอบ มีบางส่วนของร่างกายพิการ มีความสูงต่ำ ดำขาว อ้วนผอม ไม่เท่ากัน สิ่งเท่านี้ย่อมเป้นสิ่งอุปสรรคต่อการพัฒนาบุคลิกภาพเป็นอย่างมาก บางคนที่เกิดมาที่มีความเพียบพร้อมดีแล้วทางด้านร่างกาย ย่อมส่งผลดีทางด้านจิตใจอีกด้วย
   ลักษณะทางร่างกายที่ทุกคนชื่นชอบ
   1. มีส่วนสูงและน้ำหนักตามเกณฑ์มาตราฐานของแต่ละชนชาติ
   2. มีผิวพรรณสวยงามเหมาะสมตามธรรมชาติของชนชาตินั้นๆ เช่น ชนชาติเอเชียและชนชาติยุโรย ซึ่งมีความแตกต่างกัน
   3. ชาวเอเชียจะมีผมเป็นสีดำ ชาวยุโรปจะมีผมเป็นสีทอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมและแต่ละทวีป
   4. ความเข้มแข็งของสุภาพบุรุษ และความนุ่นนวลของสุภาพสตรในแต่ละชนชาติ
    - ลักษณะภายใน ถือเป็นนามธรรม  หมายถึง ลักษณะภายในทางด้านจิตใจ ด้านอุปนิสัยใจคอ ลักษณะความรู้สึกนึกคิด ความร่าเริงแจ่มใส  ความประพฤติและพฤติกรรมของแต่บุคคล

ที่มา จริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์
ผู้แต่ง  ทรงศักดิ์ แก้วอ่อน กศ.บ.( ธุรกิจศึกษา ) , ค.บ. ( คอมพิวเตอร์ศึกษา ) ค.อ.ม. ( บริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา )

การพัฒนาบุคลิกภาพ

    เนื่องจากบุคลิกภาพเป็นลักษณะของบุคคลโดยรวมของแต่ละบุคคล ซึ่งย่อมแตกต่างกันทั้งรูปร่างหน้าตา ด้านอารมณ์ สังคม สติปัญญา พฤติกรรม เพื่อการกระทำใดๆ ตลอดจนการแสดงกริยาอาการต่างๆ สำหรับการเสริมบุคลิกภาพให้เป็นที่ยอมรับของบุคคลภายนอกก็จะเป็นผู้ที่ได้รับความสำเร้จในการดำรงตนอยู่ในสังคมรอบตัวเราอย่างมีความสุข ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบุคลิกภาพ

ที่มา จริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์
ผู้แต่ง  ทรงศักดิ์ แก้วอ่อน กศ.บ.( ธุรกิจศึกษา ) , ค.บ. ( คอมพิวเตอร์ศึกษา ) ค.อ.ม. ( บริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา )

 

ประโยชน์ของการพัฒนาบุคลิกภาพ

1. สร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรงตลอดเวลา ด้วยการออกกำลังกาย
2. ทำให้ร่างกายมีบุคลิกภาพที่ดีคล่องแคว่งว่องไว และสง่าผ่าเผย
3. เป็นผู้ที่มีความร่าเริง จิตใจแจ่มใส อารมณ์ดี
4. มีกิริยามารยาท และพูดจาด้วยถ้อยคำที่สุภาพเป็นเสน่ห์กับผู้พบเห็น
5. เป็นผู้ที่มีเหตุผลไม่วู่วาม มีความสุขุมรอบคอบ มีสติ และควบคุมตัวเองได้
6. มีจิตใจที่เข้มแข็ง มีความอดทน ต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรคได้
7. ยอมรับความเป็นจริงของโลกมนุษย์ ซึ่งประกอบไปด้วยสุขและทุกข์
8. มีความเชื่อมั่นในตัวเอง กล้าคิดกล้าทำ กล้าแสดงออก หรือกล้าตัดสินใจ โดยอาศัยหลักการและเหตุผล
9. มีความคิดใฝ่หาความก้าวหน้าในการทำงาน มีความคิดริเริ่มและมีความกระตือรือร้น มีน้ำใจและเอื้ออาทรผู้อื่น
10. ปรับปรุงตนเองให้เข้ากับสังคม และสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี และสมารถสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับบุคลรอบข้างได้อย่างมีความสุข
   การพัฒนาบุคลิกภาพในวิชาชีพจริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์ ผู้เรียนจะได้รับสิ่งดีๆ ตอบแทน ดังนี้
1. ได้รับการพิจราณาเข้าทำงานจากสถานประกอบการได้งานกว่าบุคคลอื่น
2. สร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองในการอยู้ร่วมกันในสังคม
3 สร้างบุคลิกและละกษณะนิสัยที่ดีแก่ผู้พบเห็น
4. มีความเข้าใจและยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต
5. สร้างความกระตือรือร้น และใฝ่ดีตลอดเวลา
6. มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน
7. มีความสุขต่อการทำงานและในชีวิตประจำวัน
8. สร้างความเข้าใจกับบุคลอื่นๆ มีความโอบอ้อมอารี
9. ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ด้วยหลักการและเหตุผล
10. สร้างความหวังและกำลังใจให้ตนเอง
    ปัจจุบันสุขภาพมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตและการทำงานของทุกคน รัฐบาลสมัย พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชันวัตร จึงได้ประกาศนโยบายและเป้าหมาย ''เมืองไทยแข็งแรง'' โดยรัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้คนไทยอยู่เย็นเป็นสุขทั้งกาย ใจ สังคม และปัญญา สามารถดำรงชีพบนพื้นฐานความพอดีพอประมาณอย่างมีเหตุผล ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิงพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสำเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีครอบครัวที่อบอุ่น มั่งคง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และช่วยเหลือเกื้อกูล มีสัมมาอาชีพทั่วถึง มีรายได้ มีสุขภาพแข็งแรงและอายุยืนยาว เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีเป้าหมายร่วมกันในการนำพาทุกชุมชนของประเทศไทยสู่การเป็นเมืองไทยแข็งแรงภายในปีพุทธศักราช 2560 ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระชนมายุครบ 90 พรรษา จึงขอประกอบวาระแห่งชาติสู่การเป็น '' เมืองไทยแข็งแรง '' 17 เป้าหมายคือ
1. คนไทยมีความฉลาดทางสติปัญญา ( I.Q. ) และความฉลาดทางอารมณ์ ( E.Q. ) เพิ่มมากขึ้นในระดับที่ต้องม่ายต่ำกว่าเกณฑ์มาตราฐานสากล
2. คนไทยที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อสุขภาพในทุกหมู่บ้าน ทุกตำบล ทุกชุมชน ทุกหน่วยงานและสถานประกอบการ
3. คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาในระบบโรงเรียนไม่น้อยกว่า 12 ปี และมีโอกาศเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและเกิดทักษะทางสุขภาพ ( Health Skill ) และทักษะการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม ( Like Skill )
4. คนไทยมีครอบครัวที่อบอุ่น เด็กและผู้สูงอายุได้รับการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว
5. คนไทยมีอายุขัยเฉลี่ยยืนยาวพร้อมสุขภาพที่ข็งแรง อัตราการป่วยและตายด้วยโรคที่เป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของคนไทยลดน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเอดส์ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไข้เลือดออก โรคในช่องปาก และโรคเบาหวาน
6. คนไทยทุกคนมีหลักประกันการเข้าถึงบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐาน
7. คนไทยได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการ และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จากแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษปนเปื้อน ตลาดสด ร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่วยอาหารทุกแห่งได้มาตรฐานสุขภาพอนามัย สถานที่ผลิตอาหารทุกแห่งผ่านเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (GMP )
8. คนไทยลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกฮอล์และยาสูบ
9. คนไทยมีอัตราการบาดเจ๊บและตายด้วยอุบัตืเหตุน้อยลง
10. คนไทยมีอัตราการฆ่าตัวตาย ตลอดจนการป่วยด้วยโรคทางจิต ประสาท ลดน้อยลง
11. คนไทยมีความปลอดภัยจากอาชญากรรมและความรุนแรงที่ก่อให้เกิดการประทุษร้านต่อชีวิตร่างกายและจิตใจ การประทุษร้ายทางเพศ และการประทุษร้ายต่อทรัพย์สิน
12. คนไทยมีสัมนาอาชีพและมีรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตอย่างปกติสุข
13. คนไทยที่มีที่อยู่อาศัยที่ถูกสุขลักษณะ มีน้ำสะอาดเพื่ออุปโภคเพียงพอ และดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี
14. คนไทยลด ละ เลิดอบายมุขและสิ่งเสพติด
15. คนไทยมีความรู้รักสามัคคี มีความอาทรเกื้อกูลกัน
16. คนไทยมีสติและปัญญาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งรุนแรงต่างๆ ด้วยเหตุผลและด้วยสันติวิธี
17. คนไทยยึดมั่นในหลักศาสนาแวฒนธรรมที่ดีงาม
    การทำงานในสำนักงานหรือองค์กรจะทำงานคนเดียวไม่ได้ จะต้องทำงานร่วมกับบุคคลอื่นเราเรียกว่า การทำงานเป็นทีม มีความสำคัญในทุกองค์กร การทำงานเป็นทีม เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเพิ่งประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารงาน การืงานเป็นทีมมีบทบาทสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงานในทุกหน่วยงานที่อาศัยความร่วมมือของกลุ่มบุคคลเป็ยอย่างดี
   ลักษณะของทีม หมายถึง สัมพันธ์ภาพของบุคคล 2 คนขึ้นไป ที่มีจุดมุ่งหมายและเป้าหมายร่วมกัน ลักษณะที่สำคัญของการทำงานเป็นทีมมี 4 ประการ ได้แก่
1. การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของบุคคล หมายถึง การมีสมาชิกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีความเกี่ยวข้องกันในกิจการของกลุ่ม/ทีม ตระหนักในความสำคัญของกันและกัน แสดงออกซึ่งการยอมรับการให้เกีรยติกันสำหรับกลุ่มขนาดใหญ่มักมีปฏิสัมพันธ์กันเป็นเครือข่ายมากกว่าการติดต่อกันตัวต่อตัว
2. มีจุดมุ่งหมายและเป้าหมายร่วมกัน หมายถึง การที่สมาชิกกลุ่มจะมีส่วนกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมร่วมการในกลุ่ม/ทีม โดยเฉพาะจุดประสงค์ของสมาชิกกลุ่มที่สอดคล้องกับองค์กร มักจะนำมาซึ่งความสำเร็จของการทำงานได้ง่าย
3. การมีโครงการของทีม/กลุ่ม หมายถึง ระบบพฤติกรรมซึ่งเป็นแบบแผนเฉพาะกลุ่มสมาชิกกลุ่มจะต้องปฏิบัติตามกฏหรือมติของกลุ่ม ซึ่งอาจเป็กลุ่มแบบทางการ ( Formal Group ) หรือ กลุ่มแบบไม่เป็นทางการ ( Informal Group ) ก็ได้ สมาชิกทุกคนของกลุ่มจะต้องยอมรับและปฏิบีติตามเป็นอย่างดี สมาชิกกลุ่มย่อมอาจจะมีกฏเกณฑ์แบบไม่เป็นทางการ มีความสนิทสนมกันอย่างใกล้ชิดระหว่งาสมาชิกด้วยการ
4. สมาชิกมีบทบาทและมีความรู้สึกร่วมกัน การรักษาบทบาทที่มั่งคงในแต่ละทีม/กลุ่ม จะมีความแตกต่างลักษณะของกลุ่ม รวมทั้งความรู้ความสามารถของสมาชิก โดยมีการจัดแบ่งบทบาทและหน้าที่ ความรับผิดชอบ กระจายงานตามความรู้ ความสามารถ และความถนัดของสมาชิก

ที่มา จริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์
ผู้แต่ง  ทรงศักดิ์ แก้วอ่อน กศ.บ.( ธุรกิจศึกษา ) , ค.บ. ( คอมพิวเตอร์ศึกษา ) ค.อ.ม. ( บริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา )
            

การพัฒนาตนเอง

   สังคมไทยทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอันมาก จะเห็นได้ว่าสังคมไทยรับเอาวัฒนธรรมตะวันมาใช้มากมายหลายอย่าง ทั้งในด้สนที่ดีและด้านไม่ดีไม่ว่าจะเป็นแนวคิด วิถีชิวิต( Lifestyle ) การทำงานตลอดจนการให้ความสำคัญแก่วัตถุนิยม ฯลฯ ทำให้สังคมไทยปัจจุบันค่อยข้างจะสับสนและมีความขัดแย้งระหว่างบุคคลต่างๆ ที่อยู่ในสังคมค่อยข้างมาก จนน่าจะมีการทบทวนดูว่าเราควรจะพัฒนาตนเองไปทางทิศทางใดจึงจะถูกต้องและเหมาะสม
   ตามหลักการ การพัฒนาตนเองนั้นควรคำนึงถึงความพัฒนาตนเองให้เป็นคนมีคุณค่า จะได้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และสังคมรอบข้าง เพื่อให้เป็นความสำเร็จที่เกิดขึ้นในชีวิตของมนุษย์อย่างแท้จริง มนุษย์ไม่ควรทำงานเพื่อเงินเพียงอย่างเดียว  แม้ว่าเงินจะมีส่วนสำคัญในการดรงชีวิตแต่เราก็ไม่ควรให้ความสำคัญแก่เงินมากเกินไปจนยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องชอบธรรมใดๆ ความสำเร็จที่ได้มาจากการคดโกงเอาเปรียบคนอื่น ไม่เหมือนความสำเร็จที่ได้จากการใช้ความรู้ความสามารถ ความพยายามบากบั่นอดทนด้วยความเพียรของตนเอง เพราะการหาเงินทางที่ไม่ชอบทั้งหลายนี้ รังแต่จะทำให้ชีวิตเป็นทุกข์ ต้องเดิอดร้อนื้งกายและใจอย่างไท่รู้จบ นับเป็นการดิ้นรนเพื่อความว่างเปล่าโดยแท้ เนื่องด้วยความเป็นจริงของชีวิต ไม่ว่าเราจะมีเงินมากมายมหาศาลเพียงใด สุดท้ายของชีวิตทุกคนที่เหมือนกัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็คือการจากไปโดยไม่สามารถเอาทรัพย์สมบัติใดๆ ติดตัวไปได้แม้แต่ชิ้นเดียว ฉะนั้นเหตุใดเราจึงไม่เร่งพัฒนาตนเองเพื่อความพ้นทุกข์ ทำจิตให้ว่าง มองทุกอย่างตามที่เป็นจริงด้วยจิตที่สงบ โดยการเดินทางสาบกลางหรือมีชฌิมาปฏิปทา ไม่โลภมากไม่โกรธมากมีสติกำกับ ไม่ปรุงแต่งจนเป็นเหตุให้เกิดทุกข์จิตที่สงบจะเป็นจิตที่เหมาะแก่การทำงาน เพราะเป็นจิตที่เป็นประโยชน์ ดังเช่นพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยจิต '' ซึ่งหลวงวิจิตวาทการก็ได้ให้ความเห็นว่าจิตเป็นโครตของพลัง ดังนั้นถ้าเราใช้สติปัญญา และมีธรรมะ เป็นเครื่องกำกับจิต เราจะพบกับความสุข ตามที่พระพุทธองค์สอนไว้ว่า '' สุขอื่นใดยิ่งกว่าความสงบเป็นไม่มี ''
    ด้วยเหตุนี้ หากเราใช้แนวทางการพัฒนาตนเองเชิงพุทธจะเป็นการบริหารจิตที่ดีเพราะมุ้งเน้นไปที่การพัฒนาพฤติกรรม โดยใช้ศีลกำกับให้เป็นผู้มีระเบียบวินัยรู้สิทธิ์หน้าที่ของตน ไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น โดยการใช้สมาธิปลดเปลื้องความกังวล ใช้สมาธิปลดเปลื้องความเครียด ความกังวลใจ ขะได้ใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข และจิตที่สงบที่จะไปสู่การพัฒนา ความรู้และทรรศนะที่ถูกต้องด้วยความหมายแห่งคำว่ารัก ปัญญา ซึ่งได้แก่การหยั่งรู้สภาพความเป็นจริงของโลก และชีวิตที่สับสนด้วยลาภ ยศ สรรเสร้ญ สุข จะได้ไม่ยึดมั้นไม่หวังผลตอบแทน ปฏิบัติหน้าที่เพื่อนหน้าที่ การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีควรจึงเน้นที่การพัฒนาจิตใจตนเองเป็นอับดับแรก เพื่อนให้บุคคลนั้นสามารถจัดการชีวิตได้ดี เนื่องจาดจิตใจที่ขาดความเข้มแข็ง ขาดพลังความมุ่งมั้น ขาดกำลังใจจะไม่สามารถนำพาชีวิตไปให้ไกลได้ และมีผู้เสนอความคิดเห็นว่า '' ในปัจจุบันคนเราได้รับการศึกษาดีทำให้เกิดความคิดหลากหลายเป็นประโยชน์แก่ชีวิตตน แต่ความคิดที่ดีเหล่านั้นขาดพลังผลักดัน ขาดกำลังหนุนส่ง จึงเป็นความคิดที่เกิดขึ้นแล้วหายไป ทำให้พลาดโอกาศอย่างหน้าเสียดาย '' ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดในการสร้างพลังงานให้เกิดแก่จิตใจ ก็คือ '' การฝึกสมาธิ '' โดยการบริหารจิตให้เกิดความสงบในขณะที่ร่างกายยังคงเคลื่อนไหวทำงานอยู่ และเมื่อเราสามารถฝึกจิตใจให้นิ่งสงบและปล่อยว่างได้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางจิต ทำให้เราสามารถจัดระบบความคิดใหม่สร้างนิสัยให้มีความเข้มแข็ง หนักแน่น มั่งคง มีเมฆตา กล้าหาญ อ่อนโยน ฯลฯ เป็นการพัฒนาไปสู้จิตที่ดี มีอานุภาพขจัดความเครียด และโรคภัยไข้เจ็บได้
    ดังนั้น การพัฒนาจิตโดยการทำสมาธิจะช่วยให้จิตมีความสงบมั่งคงซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองเป็นอย่างมาก เพราะถ้าเราอยู่ในสถานการณ์กดดัน อาทิเช่น ถูกติเตียน ดูถูก นินทา สบประมาท ฯลฯ และเราแก้ไขปัญหาด้วยการแสดงความน้อยใจ ผิดหวัง โกรธ เกลียด หรือตอบโต้ด้วยการประชดชีวิต จะทำให้เราดำเนินชีวิตผิดพลาดจนได้รับเครีห์กรรมได้ แต่ถ้าเราใช้วิธีแก้ปัญหาโดยเอาคำพูดเหล่านั้นมาเป็นพลังผลักดันให้เกิดการกระทำที่ถูกต้อง จะนำชีวิตไปสู้ความสำเร็จได้
    ฉะนั้น ในการพัฒนาตนเอง เราควรคำนึงถึงคุณสมบัติพื้นฐาน 7 ประการ ดังแนวคิดของสุภาเครือเนตร ดังนี้
1. สร้างจิตใจให้หนักแน่นมั่งคงด้วยการฝึกสมาธิ
2. สร้างนิสัยขยันหมั่นเพียรด้วยการระลึกและฝึกปฏิบัติบ่อยๆ
3. สร้างนิสัยรับผิดชอบด้วยการระลึกและฝึกปฏิบัติบ่อยๆ
4. สร้างนิสัยกตัญญู อ่อนน้อมถ่อมตนด้วยการระลึกและฝึกปฏิบัติบ่อยๆ
5. สร้างนิสัยรู้จักประมาณตนเองด้วยระลึกและฝึกปฏิบัติบ่อยๆ
6. สร้างคุณธรรมให้แก่ตนเองด้วยการระลึกและฝึกปฏิบัติบ่อยๆ
7. สร้างคุณธรรมให้แก่ตนเองด้วยการระลึกและฝึกพิจารณาเหตุผลบ่อยๆ
    นอกจากนั้น ในการปฏิบัติตนเพื่อให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นสุข ทยาลุ ชีวิตงาม ได้ให้ข้อคิดเพื่อการพัฒนาตนเองดังนี้
1. อย่างจงใจทำให้ตนเองหรือให้ผู้อื่นเดือดร้อน
2. ชีวิตดำเนินไปนั้น ให้มุ่งมั้นต่อการเอื้อเฟื้อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
3. อย่งจ้องจับผิดหรือเห็นแต่ความบกพร่อง ผิดพลาดของผู้อื่น ให้พยายามมองคนแต่ในแง่ดี จงพยายามเข้าใจ และให้อภัยผู้อื่น
4. ไม่มีใครอยากชั่ว ไม่มีใครอยากผิดแต่ชีวิตอาจพลั้งพลาดได้ การเห็นอกเห็นใจกันจึงเป็นความประเสริฐในชีวิตมนุษย์
5. สิ่งที่เป็นสังขารทั้งหลาย ย่อมหมุนเวียนเปลี่ยนแปรไปตามเหตุปัจจัย ดังนั้น ชีวิตที่ผิดพลาดไป ให้ถือเป็นบทเรียน
6.ความดีที่เคยสั่งสม และสรรค์สร้างจะถูกลบล้างเมือ่เป็นคนเนรคุณ
7. เป็นความโชคดีที่เกิดมาได้พบหน้าเพื่อนมนุษย์ ดังนั้นความหยิบยื่นความยินดี และส่งรอยยิ้ม
8. อย่ากระทบกระทั่งใครๆ เพราะเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่งที่เราจะแสดงความหยาบคายต่อเพื่อนร่วมทุกข์ของเรา
9. เมื่อตกลงว่าจะคบกับใคร ให้จริงใจต่อเรา
10. หยอดน้ำตาที่บริสุทธิ์ใส จงอย่าให้ไหลออก เพราะบีบคั้นของความแค้น หากน้ำตาจะไหล ก็จะให้มันไหลเพราะความห่วงใยเพื่อมนุษย์
     ประเด็นสำคัญของการพัฒนาตนเองก็คือ การดำรงชีวิตโดยรู้จักดำรงชีวิตโดยประมาณตนไม่ประมาท มีความสำนึกที่จะเป็นคนดี
      คนดี ปฏิบัติดี มุ่งมั้นทำในสิ่งที่ดี ถูกต้อง ไม่หลงตัว ไม่ฟุ้มเฟ้อ ไม่หลงระเริงจนเกิดทุกข์
      เราจะสุข หรือทุกข์ เพราะเราสร้างกรรมต่างๆให้ผลตามสนอง เราทำดี มีสุข สมใจปอง
      ทำชั่ว ต้องทุกข์ อย่างแน่นอน
      ฉะนั้น ในการประกอบสัมมาชีพ เพื่อใช้การพัฒนาตนเองของเราไปในทางสร้างสรรค์ เราควรสร้างความก้าวหน้าด้วย ความสมารถ ซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ เห็นประโยชน์ของผู้อื่นก่อนประโยชน์ส่วนตัว เมื่อเป็นผู้บังคับบัญชา ต้องมีศีลธรรมในการปกครอง ไม่ทำตัวเป็นนายที่กดขี่ข่มเหงลูกน้อง ต้องมีความยุติธรรมในการดูแลผู้อยู่ใต้บังคับชัญชา และควรถือเป็นหน้าที่สำคัญที่จะสนับสุนให้ผู้ใช้บังคับบัญชาได้ก้าวหน้าดีกว่าตน ซึ่งถ้าเราทำได้ดังที่กล่าวมาแล้ว เราจะเป็นคนที่มีคุณค่า ทั้งต่อตนเองและต่อส่วนรวม
                                            เอาความดี          เป็นแกนกลาง            ทางชีวิต
                                            เอาความคิด       เป็รเครื่องช่วย            อำนวยผล
                                            เอาแรงงาน         เป็นกลไก                   ภายในตน
                                            นี่คือคน               มีคุณค่า                     ราคางาม
                                                                                                                   ( พุทธทาสภิกขุ )

ที่มา จริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์
ผู้แต่ง  ทรงศักดิ์ แก้วอ่อน กศ.บ.( ธุรกิจศึกษา ) , ค.บ. ( คอมพิวเตอร์ศึกษา ) ค.อ.ม. ( บริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา )

สรุป

        บุคลิกภาพมีความสำคัญต่อการทำงานอย่างยิ่ง  เพราะคนที่มีบุคลิกภาพที่ดีย่อมจะช่วยส่งเสริม การปฏิบัติงาน และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ บุคลิกภาพประกอบไปด้วยลักษณะภายนอกและภายในของแต่ละบุคคล
        บุคลิกภายนอก ถือเป็นธรรม คือ รูปร่างหน้าตาของแต่ละบุคคลที่เป็นมาแต่กำเนิด
        บุคลิกภายใน ถือเป็นนามธรรม คือ ลักษณะภายในทางด้ายจิตใจ อุปนิสัยใจคอ
        บุคลิกภาพของแต่ละบุคคลย่อมจะแตกต่างกันไป ฉะนั้นการเสริมสร้างและพัฒนาบุคลิกภาพในทุกๆ ด้าน ให้เป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่น ก็จะเป็นผู้ได้รับความสำเร็จในการดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

ที่มา จริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์
ผู้แต่ง  ทรงศักดิ์ แก้วอ่อน กศ.บ.( ธุรกิจศึกษา ) , ค.บ. ( คอมพิวเตอร์ศึกษา ) ค.อ.ม. ( บริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา )